เรื่องน่าเรียนรู้ก่อนการถ่ายภาพ

05:49 Posted by nerikus

เรื่องน่ารู้สำหรับ ผู้ที่จะเริ่มต้นหรือรักการถ่ายภาพโดยเฉพาะ ไม่ควรพลาด






เลนส์ของกล้องดิจิตอล
   
กล้องดิจิตอลต้องอาศัยเลนส์เช่นเดียวกับกล้องใช้ฟิล์ม เลนส์ของกล้องดิจิตอลทำหน้าที่รวมแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุ ทำให้เกิดภาพบน Image Sensor เช่น เดียวกับเลนส์ตาทำหน้าที่รวมแสงให้เกิดภาพ เลนส์ทำหน้าที่ควบคุมมุมการรับภาพ หรือมุมการมองเห็นของอิมเมจเซ็นเซอร์ว่าจะเก็บภาพได้กว้างหรือแคบเพียงไร เลนส์มีผลต่อขนาดวัตถุที่ปรากฏในภาพเลนส์มุมกว้างให้ภาพมุมกว้าง วัตถุที่ปรากฏในภาพมีขนาดเล็ก ส่วนเลนส์ถ่ายไกลให้ภาพที่ปรากฏเป็นมุมแคบๆ เจาะส่วน และขนาดภาพที่ปรากฏจะใหญ่ เลนส์มีผลต่อสัดส่วนของภาพ และเลนส์ทำหน้าควบคุมปริมาณแสง คุณภาพของเลนส์มีผลอย่างมากต่อสีสัน ความคมชัด และรายละเอียดบน Image Sensor เลนส์คุณภาพสูงหรือเลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้องดิจิตอลโดยเฉพาะจะให้ภาพที่ดีกว่าเลนส์ทั่วไปมากๆ เมื่อใช้กับกล้องดิจิตอล
   
เลนส์ ของกล้องดิจิตอลและกล้องถ่ายภาพทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็นเลนส์ประเภทต่างๆ โดยอาศัยทางยาวโฟกัสของเลนส์ ซึ่งทางยาวโฟกัสคือ ระยะทางระหว่างกึ่งกลางของเลนส์ (ในกรณีที่เป็นเลนส์ชิ้นเดียว) จนถึงอิมเมจเซ็นเซอร์  เลนส์ทางยาวโฟกัสสั้นที่มุม การรับภาพกว้าง เลนส์ทางยาวโฟกัสสูงมีมุมการรับภาพแคบ เลนส์ตัวเดียวกันเมื่อใช้กับอิมเมจเซ็นเซอร์ต่างขนาดกัน มุมการรับภาพก็จะแตกต่างกันออกไปด้วย เช่น เลนส์ 25 มม.  เมื่อใช้กับอิมเมจเซ็นเซอร์ขนาด 1/2 นิ้วจะเป็นเลนส์เทเลโฟโต้ แต่เมื่อใช้กับอิมเมจเซ็นเซอร์ขนาด 1.5 นิ้ว กลับกลายเป็นเลนส์มุมกว้าง

    1. เลนส์ตาปลา (Fish-eye) คือ เลนส์ที่มีมุมการรับภาพกว้าง 180 องศา ทุกอย่างที่อยู่หน้าเลนส์จะปรากฏลงบนอิมเมจเซ็นเซอร์มี 2 แบบคือ เลนส์ตาปลาแบบวงกลม จะเป็นภาพวงกลมขอบดำ และเลนส์ตาปลาแบบเต็มภาพ (Full-Frame) ขอบภาพที่เป็นเส้นตรงจะบิดโค้งมากๆ เหมาะกับภาพที่ต้องการมุมการรับภาพกว้างมากๆ หรือภาพที่ต้องการความบิดเบือนของเส้นตรง
    2. เลนส์มุมกว้าง (Wide-Angle Lens) คือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสน้อยกว่าเส้นทแยงมุมของอิมเมจเช็นเซอร์ มีตั้งแต่ให้มุมภาพกว้างมากๆ (Super Wide) และเลนส์มุมกว้างปกติ (Wide) เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการมุมภาพกว้างๆ หรือถ่ายภาพกว้างในพื้นที่จำกัด ถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ภาพหมู่ หรือภาพถ่ายในระยะใกล้ๆ เพื่อให้เกิดความผิดเพี้ยนของสัดส่วน
    3. เลนส์เทเลโฟโต้ (Telephoto)  คือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสูงกว่าเส้นทแยงมุมของอิมเมจเซ็นเซอร์ มุมการรับภาพจะแคบ เหมาะกับการถ่ายภาพระยะไกลให้ดูใกล้ ภาพในลักษณะแอบถ่ายจากระยะไกล ภาพสัตว์ป่า ภาพบุคคล ฯลฯ เลนส์ถ่ายไกลยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Telephoto และ Super Telephoto
    4. เลนส์มาตรฐาน (Normal Lens) คือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสเท่ากับเส้นทแยงมุมของอิมเมจเช็นเซอร์ ใช้ในการถ่ายภาพทั่วๆ ไป
    5. เลนส์ซูม (Zoom Lens) คือเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนทางยาวโฟกัสได้ในตัวเดียวกัน สามารถให้ภาพกว้างและแคบได้ เป็นเลนส์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกและยังให้คุณภาพที่ดียอมรับได้ สามารถแบ่งออกเป็นหมวดย่อยๆ เช่น เลนส์ซูมมุมกว้าง เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ เลนส์ซูมมุมกว้าง-เทเลโฟโต้ ส่วนเลนส์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนทางยาวโฟกัสได้เรียกว่าเลนส์เดี่ยว (Fixed Focal Length Lens) จะให้คุณภาพที่ดีกว่าเลนส์ซูม แต่ไม่สะดวกในการใช้งานเท่าไรนัก เหมาะกับการถ่ายภาพคุณภาพสูงมากๆ เป็นหลัก

    นอกจากการแบ่งตามความยาวโฟกัสของเลนส์แล้ว  ยังแบ่งเลนส์ออกเป็นหมวดย่อยๆ ตามลักษณะพิเศษของเลนส์ได้ เช่น

    1. เลนส์มาโคร (Macro Lens) คือ เลนส์ที่ออกแบบให้ใช้ถ่ายภาพในระยะใกล้กว่าปกติ ซึ่งเลนส์ทั่วไปจะไม่สามารถถ่ายภาพในระยะใกล้มากๆ ได้ เช่น เลนส์ 105 มม.มาโคร 200 มม.มาโคร
    2. เลนส์ Soft เป็นเลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับการถ่ายภาพบุคคล สามารถทำให้ภาพนุ่มๆ ได้และปรับระดับความนุ่มนวลได้อีกด้วย เช่น 135 มม.F/2 DC
    3. เลนส์กระจก (Mirror Lens) เป็นเลนส์ที่ใช้กระจกสะท้อนภาพแทนชิ้นเลนส์ใส เพื่อลดขนาดเลนส์และทำให้เลนส์มีต้นทุนถูกลง เช่น 500 มม. f/8 Mirror แต่คุณภาพของภาพถ่ายที่ได้จะไม่ดีเท่าไรนัก
    4. เลนส์ควบคุมสัดส่วนของภาพ (Perspective Control Lens) เป็นเลนส์ที่สามารถแก้การบิดเบือนของภาพ ใช้ในการถ่ายภาพงานสถาปัตยกรรม ภาพทิวทัศน์ที่ต้องการความสมจริง หรือใช้ในการเปลี่ยนแปลงระนาบความคมชัดเพื่อให้ได้คามชัดลึกสูงสุด เช่น 28 มม.PC
    5. เลนส์ป้องกันความสั่นไหวของภาพ (Vibration Control Lens) เป็นเลนส์ที่มีกลไกพิเศษช่วยป้องกันการสั่นไหวของภาพได้ เหมาะกับการถ่ายภาพในที่สภาพแสงน้อยๆ หรือภาพที่ต้องการใช้ความเร็วชัดเตอร์ต่ำ เพื่อป้องกันการสั่นไหวของมือ แต่ไม่สามารถชดเชยการเคลื่อนที่ของวัตถุได้
    6. เลนส์แก้ความคลาดสี (Aporhromatic Correction Lens) มักใช้ชื่อทางการค้าว่า ED, L, APO คือ เลนส์ที่ใช้ชิ้นเลนส์พิเศษที่มีการกระจายแสงต่ำ ดัชนีหักเหสูง (High Reflexive Index Low Dispersion Glass) เพื่อลดความคลาดสีบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพมีความคมชัดสีสันสมจริงมากยิ่งขึ้น
    7. เลนส์แก้ความคลาดทรงกลม เป็นเลนส์ที่ใช้ชิ้นเลนส์พิเศษที่ผิวหน้าไม่เป็นทรงกลม เรียกว่าชิ้นเลนส์ Aspherical Lens (เลนส์ ปกติผิวหน้าจะเป็นทรงโค้งวงกลม) เพื่อแก้แสงบริเวณของภาพให้ตกในระนาบเดียวกันทำให้ภาพกลางภาพและขอบภาพมี ความคมชัดใกล้เคียงกัน ซึ่งมักใช้ในเลนส์มุมกว้างและเลนส์ซูมคุณภาพสูง



 

   
เลนส์สำหรับกล้องดิจิตอลแบบคอมแพคจะเป็นเลนส์ซูมมุมกว้างเทเลโฟโต้ เพื่อให้ใช้งานได้หลายหลาย ส่วนเลนส์สำหรับกล้องดิจิตอลแบบ SLR จะ เป็นเลนส์ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ จะเป็นเลนส์เดี่ยวหรือซูมขึ้นกับผู้ซื้อ การเลือกควรดูว่าจะนำไปใช้งานอย่างไร เพราะเลนส์แต่ละเลนส์ประเภทมีจุดประสงค์และจุดเด่นในการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปควรมีเลนส์ตั้งแต่มุมกว้างปานกลาง (0.25เท่าของเส้นทแยงมุมของเซ็นเซอร์) ไปจนถึงเทเลโฟโต้ปานกลาง (4เท่าของเส้นทแยงมุมของเซ็นเซอร์) ซึ่งทางยาวโฟกัสจะเป็นเท่าไรนั้นขึ้นกับว่าขนาดอิมเมจเซ็นเซอร์มีขนาดเท่าไร ไม่สามารถระบุได้ ต้องดูกล้องเป็นรุ่นๆ ไป
   
กล้อง ดิจิตอล มักจะระบุทางยาวโฟกัสของเลนส์ไว้ 2 แบบ คือ ทางยาวโฟกัสที่แท้จริง กับทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากล้อง 35มม. ที่ใช้ฟิล์มขนาด 135 ภาพ ขนาด 24x36 มิลลิเมตร เช่น เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัส 5-40 มม. จะเทียบเท่าเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัส 25-200 มม. เป็นต้น
    ทางยาวโฟกัสของเลนส์สำหรับกล้องดิจิตอล SLR มัก บอกทางยาวโฟกัสเป็นค่าทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับกล้องฟิล์ม 135 และระบุตัวคูณทางยาวโฟกัส เช่น 1.7 เท่า เพื่อให้ทราบว่าเมื่อนำเลนส์ไปใช้กับกล้องดิจิตอลจะมีขนาดทางยาวโฟกัสเท่าไร เช่น เลนส์ 50 มม. เมื่อนำไปใช้กับกล้องดิจิตอล 1.5 เท่า จะกลายเป็นเลนส์ขนาด 75 มม. เป็นต้น

ระบบต่างๆ ของกล้องดิจิตอล

1. การกำหนดขนาดภาพ (Image Size) ขนาดภาพของกล้องดิจิตอล คือ จำนวน Pixels ในภาพที่บันทึกลงบนการ์ดเก็บข้อมูล ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
    1. จำนวน Pixels บน Image Sensor หมายถึงจำนวน Pixels ทั้งหมดที่อยู่บน Image Sensors
    2. จำนวน Pixels ที่ถูกใช้งานในการบันทึกภาพ ซึ่งจะเรียกว่า “Effective Pixels” จำนวน Effective
Pixels จะน้อยกว่าจำนวน Pixels ทั้งหมดบน Image Sensor บางครั้งเราเรียกว่า “Optical Resolution”
    3. จำนวน Pixels ที่บันทึกลงบนภาพ มักเรียกว่า “Recording Pixels” หรือ “Output Pixels” เป็นจำนวน Pixels จริงที่จะถูกบันทึกลงบนการ์ดเก็บข้อมูลโดยจะมีจำนวนใกล้เคียงกับ Effective Pixels แต่กล้องบางตัวอาจจะมี Recording Pixels มากกว่า Effective Pixels ถึง 1.5 หรือ 2 เท่า ซึ่งจำนวน Pixels ที่เพิ่มขึ้นมานั้นจะได้จากการจำลองข้อมูลจาก Effective Pixels ขึ้นมาเพื่อให้ภาพมีจำนวน Pixels มากขึ้น แต่คุณภาพโดยรวมจะไม่เพิ่มขึ้น
   
การเลือกซื้อกล้องดิจิตอลหรือการเลือกขนาดความละเอียดของภาพมาใช้งาน จะพิจารณาจากจำนวน  Effective Pixels โดยกล้องที่มีจำนวน Effective Pixels มากมีแนวโน้มว่าจะมีคุณภาพดีกว่ากล้องที่มีจำนวน Effective Pixels น้อย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของ Image Sersor ขนาด Photo detector ความลึกสี ระบบประมวลผล เลนส์ และส่วนประกอบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
   
กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะเลือกจำนวน Pixels ในการถ่ายภาพได้หลายค่า เช่น กล้องขนาด 5 ล้านพิกเซล อาจจะเลือกถ่ายภาพได้ที่ 5 ล้านพิกเซล, 3 ล้านพิกเซล, 1 ล้านพิกเซล และ 7 แสนพิกเซล โดยทั่วไปเราสามารถเข้าไปเลือกความละเอียดของภาพได้โดยการเข้าไปที่ Menu (หรือ Setting) แล้วเข้าไปที่ Image Size (หรือ Quality) จะปรากฏเมนูในการตั้งความละเอียดของภาพขึ้น
         
โดยทั่วไปภาพที่มีจำนวน Pixels มาก จะสามารถนำไปขยายภาพขนาดใหญ่ได้ดีกว่าภาพที่มีจำนวน Pixels น้อย โดยให้ความละเอียดและความคมชัดที่ดีกว่า ภาพแตกเป็นสี่เหลี่ยมได้ยากกว่า แต่จำนวน Pixels ที่มากกว่าต้องใช้เนื้อที่ของหน่วยความจำในการเก็บข้อมูลมากกว่า สิ้นเปลืองพลังงานในการประมวลผลมากกว่า กล้องทำงานช้ากว่า ทั้งการเก็บข้อมูลและการเรียกดูภาพบนการ์ดเก็บข้อมูล การตั้งความละเอียดไว้สูงสุดอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการบันทึกภาพด้วย กล้องดิจิตอล เรามีวิธีการในการเลือกความละเอียดของภาพโดยพิจารณาจากการนำภาพไปใช้งาน

    1. ถ้าต้องการถ่ายภาพเพื่อส่ง E-Mail หรือใช้ทำ Presentation ในคอมพิวเตอร์ ความละเอียด 1 ล้านพิกเซลถือว่าเพียงพอ
    2. ต้องการไปใช้งานพิมพ์ งานอัดขยายภาพด้วยเครื่อง Printer คุณภาพสูง (Photo Quality) ควรดูว่าจะขยายภาพขนาดเท่าไร จากนั้นเอาขนาดภาพคูณด้วย 300 จะได้ขนาดความละเอียดภาพที่ควรจะตั้ง เช่น ขยายภาพขนาด 4x6 ควรตั้งที่ความละเอียด 4x300, 6x300= 1200x1800 Pixels = 2.16 ล้านพิกเซล
    ถ้าอัตราขยายภาพสูงมากๆ  แต่กล้องไม่สามารถตั้งความละเอียดตามที่ต้องการได้  ก็ควรตั้งความละเอียดไว้ที่สูงสุดเท่าที่กล้องจะสามารถทำได้  ซึ่งภาพที่ได้อาจจะแตกและมีคุณภาพไม่ดีนัก (เมื่อมองในระยะใกล้มากๆ)
    3. ใช้งานพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์แบบ Inkjet ให้ใช้ขนาดภาพที่ต้องการใช้งานคูณด้วย 150 แต่ถ้าเป็นเครื่อง Inkjet ที่มีความละเอียดสูงมากๆ ต้องคูณด้วย 300
   
กล้องดิจิตอลในระดับ Consumer ในปัจจุบันนั้นมีความละเอียดประมาณ 3 ล้านพิกเซล สามารถอัดขยายภาพขนาด 4x6 นิ้ว (4R) จนถึง 8x10 นิ้ว (8R) ได้อย่างมีคุณภาพ ส่วนกล้องในระดับ Prosumer มีความละเอียดประมาณ 4-5 ล้านพิกเซล สามารถขยายภาพขนาด A4 (8.25x11.5 นิ้ว) ได้ และกล้องดิจิตอลระดับ Pro ความละเอียด 6 ล้านพิกเซลสามารถขยายภาพขนาด A4 ถึง 10x15 นิ้วได้สบายๆ โดยเฉพาะรูปที่ถ่ายในระยะใกล้ เช่น รูปสินค้า รูปบุคคลครึ่งตัว แต่ถ้าเป็นรูประยะไกลซึ่งต้องการความละเอียดสูงมากๆ จะยังทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก

2. การกำหนดคุณภาพของภาพ (Image Quality)
  
 กล้องดิจิตอลโดยทั่วไปจะเก็บภาพในรูปแบบ Photoshop, TIFF File, JPEG File หรือ RAW File คุณภาพของภาพที่ได้จากไฟล์แบบต่างๆ จะมีคุณภาพแตกต่างกันออกไป เรียกคุณภาพที่เกิดจากรูปแบบการเก็บข้อมูลนี้ว่า Image Quality สามารถเข้าไปตั้งค่า Image Quality ได้โดยการเข้าไปที่ Menu (หรือ Setting) แล้วเข้าไปที่ Image Quality ซึ่ง Image Quality มักจะแบ่งออกเป็นระดับคือ

    1. High จะเก็บภาพแบบ TIFF File 8 bit/color ซึ่ง จะไม่มีการบีบอัดข้อมูล ทำให้ได้คุณภาพสูงสุดจากกล้องตัวนั้น แต่จะใช้เนื้อที่การเก็บภาพมาก ไฟล์มีขนาดใหญ่ ประมวลผลช้า เปลืองพลังงาน และทำให้ใช้ระบบการถ่ายภาพบางอย่างไม่ได้ หรือได้น้อยลง เช่น ระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง เป็นต้น เหมาะสำหรับการเก็บภาพที่ต้องการคุณภาพสูงสุด
    2. Fine, Normal, Basic จะเก็บภาพในรูปแบบของ JPEG File 8 bit/color ซึ่งมีการบีบอัดข้อมูล ทำให้เกิดการสูญเสียคุณภาพของภาพไป โดยที่ Fine จะบีบอัดข้อมูลน้อยที่สุดไฟล์มีขนาดใหญ่กว่า และ Basic บีบอัดข้อมูลมากที่สุด และไฟล์มีขนาดเล็กที่สุด โดยทั่วไปหากใช้ภาพเพื่องานอัดขยาย แนะนำให้ตั้ง Fine แต่ถ้าต้องการเก็บภาพลงซีดี หรือใช้กับคอมพิวเตอร์ แนะนำให้ใช้ Normal และถ้าต้องการใช้ส่ง E-Mail แนะนำให้ใช้ Basic ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของการ์ดเก็บข้อมูลและจำนวนภาพที่ต้องการบันทึก
    3. RAW เป็นไฟล์เฉพาะซึ่งต้องอาศัยโปรแกรมเฉพาะของกล้องในการเปิด  ไม่สามารถใช้โปรแกรมทั่วไปในการเปิดได้  RAW File เป็นข้อมูลดิจิตอลที่มาจาก Image Sensor ไม่ผ่านการปรับแต่งใดๆ จาก Processor ของตัวกล้อง  ทำให้ได้คุณภาพที่แท้จริงจากกล้องตัวนั้นๆ โดยเฉพาะการไล่ระดับโทนสี หรือ Bit Depth กล้องดิจิตอลในปัจจุบันจะมีความลึกสีประมาณ12 bit/color แต่เมื่อเก็บภาพเป็น TIFF File จะถูกบีบลงเหลือ 8 bit/color เท่านั้น การเก็บเป็น RAW File จึงทำให้จำนวนเฉดสีที่มากกว่า เมื่อเปิดด้วย Software เฉพาะ จะสามารถปรับแต่งสี  ความคมชัดและคุณภาพอื่นๆ ได้ จากนั้นถึงจะเปลี่ยน RAW File ไปเป็น TIFF File และ JPEG File เพื่อการนำไปใช้งานอื่นๆ ต่อไป
  
 มืออาชีพจำนวนมากที่นิยมถ่ายภาพด้วย RAW File และเก็บภาพต้นฉบับลง CD แบบ RAW File เนื่องจากไม่สูญเสียคุณภาพ โดยเฉพาะความลึกสี (Bit Depth) สามารถใช้ Software ในการปรับคุณภาพภายหลังได้ ปรับภาพได้หลากหลายรูปแบบ และแก้ไขใหม่ได้ถ้าไม่พอใจ และถ้าภายหลังมี software รุ่นใหม่ออกมา ก็จะทำให้ภาพมีคุณภาพดีขึ้นด้วย ในขณะที่การเก็บแบบ TIFF File หรือ JPEG ไม่สามารถปรับเปลี่ยนคุณภาพของภาพในภายหลังได้ เมื่อจะใช้งาน จึงค่อยแปลง RAW File เป็น TIFF หรือ JPEG






3. การตั้งความไวแสง  
   
กล้องดิจิตอลไม่มีความไวแสงที่แท้จริง ความไวแสงที่มีให้ปรับตั้งนั้นเป็นความไวแสงเทียบเคียง (ISO Equivalents) เมื่อเทียบกับฟิล์มถ่ายภาพ ความไวแสงของกล้องดิจิตอลจะสามารถปรับตั้งได้หลายค่า มีตั้งแต่ ISO100 ไปจนถึง ISO3200 แล้วแต่รุ่นกล้องความไวแสงสูงจะช่วยให้สามารถใช้ขนาดช่องรับแสงแคบและความ เร็วชัตเตอร์สูงมากๆ ได้ ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้สะดวก การตั้งความไวแสงของกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะอยู่ที่ MENU > ISO
    
แต่ จะเกิดปัญหาภาพมีสัญญาณรบกวนสูง เนื่องมาจากการเพิ่มความไวแสง กล้องจะต้องเพิ่มสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปในระบบ ทำให้สัญญาณรบกวนสูงตามไปด้วย ผู้ผลิตกล้องดิจิตอลปัจจุบันพยายามแก้ปัญหาสัญญาณรบกวน โดยการออกแบบวงจรหรือใช้ระบบประมวลผลเพื่อลดสัญญาณรบกวนลงให้เหลือน้อยที่ สุด ผลจากสัญญาณรบกวนทำให้ภาพขาดความคมชัด สีไม่อิ่มตัว คล้ายๆ กับเกรนแตกในฟิล์มความไวสูง โดยจะเห็นได้ชัดบริเวณส่วนสีทึบหรือส่วนมืดของภาพ  ควรใช้ความไวแสงต่ำที่สุดเท่าที่ยังสามารถถ่ายภาพได้ในขณะนั้นจะได้ภาพที่ดีสุด

4. การตั้งระดับความคมชัด
  
 กล้องดิจิตอลบางรุ่นสามารถตั้งความคมชัดของภาพได้หลายระดับ โดยการเข้าไปที่ Menu > Sharpness สามารถเลือกความคมชัดได้ 3 ระดับคือ Normal คมชัดปานกลาง, Soft ไม่ปรับความคมชัด และ Hard (Sharp) ปรับความคมชัดสูงสุด โดยปกติจะปรับความคมชัดเอาไว้ที่ Normal ยกเว้นการถ่ายภาพบุคคลที่ต้องการความนุ่นนวล จะปรับเอาไว้ที่ Soft แล้วถ้าเป็นภาพสินค้า ภาพวิวหรือภาพในระยะไกล จะปรับความคมชัดไว้ที่ Hard ความคมชัดของกล้องดิจิตอลเกิดจากการใช้ Software เมื่อสั่งเพิ่มความคมชัดมากๆ จะเกิดขอบคล้ายๆ กับการใช้คำสั่ง Sharpen ใน Filter ของ Photoshop

5. ความอิ่มตัวของสี (Color Saturation)
   
ในกล้องดิจิตอลระดับกลางบางรุ่น และกล้องดิจิตอลระดับมืออาชีพ สามารถตั้งความอิ่มตัวของสีได้ โดยการเข้าไปที่ Menu > Color ระดับความอิ่มตัวของสีจะมีให้เลือก 4 ระดับคือ High ความอิ่มตัวของสีสูงสุด, Normal ความอิ่มตัวของสีปานกลาง, Original ไม่มีการปรับความอิ่มตัวของสี และ B&W ภาพขาวดำ โดยปกติจะตั้งความอิ่มตัวของสีเอาไว้ที่ Normal ยกเว้นกับภาพที่ต้องการความจัดจ้านของสีมากๆ จะตั้งไว้ที่ High ภาพบุคคลมักตั้งเอาไว้ที่ Original เพื่อไม่ให้สีผิวจัดจ้านเกินไป และถ้าต้องการภาพขาวดำตั้งที่ B&W
   
การ ปรับความอิ่มตัวของสีมากๆ จะทำการไล่ระดับโทนสีของภาพลดลงเล็กน้อย สีผิวจะเปลี่ยนไป และภาพดูกระด้างขึ้นในบางภาพเหมาะกับการถ่ายภาพวิว หรือภาพสินค้าที่ต้องการสีสดๆ



 

6. การตั้งระดับความเปรียบต่าง (Contrast, Tone)
   
กล้องดิจิตอลในรุ่นปานกลางถึงรุ่นสูงจะสามารถตั้งค่าความเปรียบต่างของภาพได้ โดยการเข้าไปที่ Menu > Contrast โดยปกติค่าความเปรียบต่างจะถูกตั้งไว้ที่ Normal หรือปานกลาง ผู้ใช้สามารถลดหรือเพิ่มความเปรียบต่างของภาพได้ โดยการเลือกไปที่ High หรือ Low
   
การ ปรับตั้งความเปรียบต่างจะมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะการถ่ายภาพนอกสถานที่ซึ่งไม่สามารถควบคุมความแตกต่างของแสงได้ ผู้ใช้สามารถตั้งความเปรียบต่างของภาพที่กล้องเพื่อชดเชยความเปรียบต่างที่ มากหรือน้อยเกินไปของสภาพแสงได้ เช่น ถ่ายภาพในสภาพแสงครึ้มฟ้าครึ้มฝน ความแตกต่างของแสงในส่วนมืดและสว่างจะน้อยมาก ภาพที่ได้จะมีความเปรียบต่างต่ำ ส่วนขาวไม่ขาว และส่วนดำไม่ดำ ภาพดูเทาไปหมดทั้งภาพ เราสามารถแก้ไขโดยการเพิ่มความเปรียบต่างของภาพไปที่ High ความ เปรียบต่างของภาพจะสูงขึ้น ภาพจะมีสีสัดดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากไปถ่ายภาพที่มีความแตกต่างของภาพจะสูงมากๆ เช่น การถ่ายภาพในอาคารย้อนออกไปภาพนอก ความแตกต่างของแสงส่วนมืดและสว่างจะสูงมาก ทำให้ส่วนสว่างและส่วนมืดไม่มีรายละเอียด สามารถแก้ไขได้โดยการปรับความเปรียบต่างที่ตัวกล้องไปที่ Low กล้องจะลดความเปรียบต่างของภาพลด และได้รายละเอียดในส่วนมืดและสว่างมากยิ่งขึ้น
   
การ ตั้งความเปรียบต่างให้เหมาะสมกับภาพแต่ละลักษณะเป็นประโยชน์มากในการใช้ งานกล้องดิจิตอล และเป็นสิ่งที่ทำให้กล้องดิจิตอลได้เปรียบกล้องใช้ฟิล์ม เพราะฟิล์มไม่สามารถเปลี่ยนความเปรียบต่างไปมาในแต่ละภาพได้ ต้องไปเปลี่ยนในขั้นตอนการอัดขยายภาพโดยการเลือกความเปรียบต่างของกระดาษ
     
7. ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed,Exposure Time)
   
ขั้น ตอนหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายภาพ คือ การควบคุมความสว่างของภาพ ภาพที่ดีควรมีความสว่างเหมาะสม ไม่สว่างจ้าหรือมืดจนเกินไปจนภาพเสียความหมายของภาพไป การควบคุมความสว่างของภาพในกล้องดิจิตอลจะมีจุดที่ควบคุมหลักๆ อยู่ 3 ที่คือ ความไวแสงของกล้อง, ความเร็วชัตเตอร์ (เวลาเปิดรับแสง) ซึ่งอยู่ที่ตัวกล้อง และขนาดช่องรับแสงซึ่งอยู่ที่ตัวเลนส์
  
เวลาเปิดรับแสง คือ เวลาที่แสงตกลงบนอิมเมจเซ็นเซอร์ หรือเวลาที่อิมเมจเซ็นเซอร์อ่านสัญญาณภาพ กล้องดิจิตอลแบบสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (SLR) มีชัตเตอร์หน้า Image Sensor ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการเปิดรับแสง เวลาที่ชัตเตอร์เปิดเรียกว่าความเร็วชัตเตอร์(Shutter Speed) ส่วนเวลาที่แสงตกลงบนอิมเมจเซ็นเซอร์เรียกว่า (Exposure Time) ซึ่งปกติทั้ง 2 ค่านี้จะเท่ากัน กล้องดิจิตอลแบบคอมแพครวมทั้งกล้องดิจิตอลที่ถ่ายภาพวีดีโอ หรือดูภาพที่กำลังจะถ่ายทางจอ LCD ด้านหลังกล้องได้ จะไม่มีชัตเตอร์หน้า Image Sensor เวลาเปิดรับแสงจะควบคุมโดยเวลาการอ่านข้อมูลของ Image Sensor ซึ่งถูกควบคุมโดย Processor ในตัวกล้องอีกทีหนึ่ง

เวลาเปิดรับแสงจะมีผลต่อภาพ 2 ประการ คือ
    1. ความมืดสว่างของภาพ เวลาเปิดรับแสงสั้น แสงจะเข้าน้อย ทำให้ภาพมืดกว่าเวลาเปิดรับแสงนาน เช่น ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาที แสงจะเข้ามากกว่าความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที หากค่าการปรับตั้งทุกอย่างเท่ากัน (ความไวแสง ช่องรับแสง) ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาทีจะให้ภาพที่สว่างกว่าความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที
    2. การเคลื่อนไหวของภาพ หากวัตถุในภาพมีการเคลื่อนไหว (จากการเคลื่อนที่ของวัตถุ หรือการเคลื่อนที่ของกล้อง) เวลาเปิดรับแสงนานจะทำให้ภาพเกิดการสั่นไหว หรือพร่ามัวได้มากกว่าเวลาเปิดรับแสงสั้น
    เวลา เปิดรับแสงจะกำหนดเป็นค่าวินาทีแบบจำนวนเต็มหรือเศษส่วน แสดงอยู่ที่วงแหวนปรับความเร็วชัตเตอร์ ในจอแสดงข้อมูลที่ช่องมองภาพ หรือที่จอ LCD ด้านหลังตัวกล้อง แต่กล้องบางตัวก็ไม่แสดงความเร็วชัตเตอร์ให้ทราบ

ตัวเลขความเร็วชัตเตอร์มีดังนี้

    T, B, 30s, 15s, 4s, 2s, 1s, 1/2s, 1/4s, 1/8s, 1/15s, 1/30s, 1/60s, 1/125s, 1/250s, 1/500s, 1/1000s, 1/2000s, 1/4000s, 1/8000s
  
ความเร็วชัตเตอร์ T และ B เป็นการเปิดชัตเตอร์นานมากๆ เท่าที่ผู้ใช้ต้องการ การใช้งานทั้งสอง แตกต่างกันเล็กน้อย
   
การใช้งานชัตเตอร์ T ให้ตั้งชัตเตอร์ที่ T จาก นั้นกดปุ่มกดชัตเตอร์ กล้องจะเปิดรับแสงค้างเอาไว้หากต้องการปิดชัตเตอร์ให้กดปุ่มกดชัตเตอร์อีก ครั้ง ชัตเตอร์จะปิดลงมา ส่วนชัตเตอร์ B นั้น เมื่อกดชัตเตอร์กล้องจะทำการเปิดรับแสง ผู้ใช้จำเป็นต้องกดปุ่มชัตเตอร์ค้างเอาไว้ตลอดเวลาที่ต้องการให้กล้องเปิด รับแสง เมื่อปล่อยปุ่มชัตเตอร์ กล้องจะทำการปิดชัตเตอร์ทันที ทั้ง B และ T ผู้ใช้ต้องจับเวลาในการเปิดรับแสงเอง จะเปิดหรือปิดชัตเตอร์เมื่อไรก็ได้ (หรือจนกว่าแบตเตอรี่หมด) และควรใช้ร่วมกับสายลั่นชัตเตอร์และขาตั้งกล้องเพื่อมิให้กล้องเกิดการสั่น ไหว
   
S คือ เวลาเปิดรับแสงในหน่วยของจำนวนเต็มเป็นวินาที ส่วนมากจะมีตัวเลขตั้งแต่ 30s ถึง 1s คือ 30 ถึง 1 วินาที ส่วนตัวเลขถัดไปจะเป็นเศษส่วนเช่น 1/2s, 1/125s ซึ่งบางครั้งจะเขียนเป็นจำนวนเต็ม แต่ไม่มี s ต่อท้ายเช่น 125 คือ 1/125 วินาที 30 คือ 1/30 วินาที ส่วน 30s คือ 30 วินาที



 

   
การ เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ขึ้นกับความต้องการในการควบคุมการเคลื่อนไหวของ วัตถุในภาพ และความสามารถในการถือกล้องให้นิ่ง ความเร็วชัตเตอร์มาตรฐานที่สามารถถือกล้องให้นิ่งได้จะอยู่ประมาณ 1/60 ถึง 1/250 วินาที แล้วแต่น้ำหนักของกล้อง ความเร็วต่ำกว่านี้จะเสี่ยงต่อการสั่นไหวของภาพอันเนื่องมาจากมือไม่นิ่ง แต่ถ้าติดตั้งกล้องบนขาตั้งซึ่งไม่มีการสั่นไหว ความเร็วชัตเตอร์ยิ่งสูงจะสามารถจับวัตถุเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งได้ดีขึ้น เรื่อยๆ ในขณะที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะสามารถทำให้วัตถุเคลื่อนไหวพร่ามากขึ้น เรื่อยๆ ตามความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลง ในการใช้ความเร็วชัตเตอร์ ผู้ใช้ต้องคำนึงถึงขนาดช่องรับแสงและปริมาณแสงที่มีในขณะนั้นด้วย ไม่สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ตามใจได้ ยกตัวอย่างเช่น หากถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยมากๆ แต่ต้องการจับการเคลื่อนไหวของวัตถุจึงตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงมากๆ ทำให้ปริมาณแสงที่ตกลงบนอิมเมจเซ็นเซอร์ไม่เพียงพอ แม้จะสามารถจับการเคลื่อนไหวของวัตถุได้ แต่ภาพที่ได้จะมืดทำให้เป็นภาพเสียแทน ผู้ใช้จึงต้องคำนึงถึงปริมาณแสงในขณะนั้นทุกครั้งที่เลือกใช้ความเร็ว ชัตเตอร์ด้วย (ดูจากสเกลเครื่องวัดแสงก็ได้)

8. ขนาดช่องรับแสง
   
ที่ตัวเลนส์ของกล้องดิจิตอลจะมีม่านโลหะลักษณะเป็นใบโลหะ ลักษณะเป็นกลีบเรียงตัวซ้อนกัน เรียกใบโลหะนั้นว่า ม่านช่องรับแสง (Diaphramge) เมื่อม่านโลหะเคลื่อนที่ออกมาจะเกิดช่องเปิดตรงกลางเรียกว่า ช่องรับแสง (Aperture) การทำงานของช่องรับแสงในกล้องดิจิตอลจะขึ้นกับชนิดของกล้อง ถ้าเป็นกล้องที่ไม่มีม่านชัตเตอร์ ม่านรับแสงจะทำงานตลอดเวลาตามความสว่างของแสง เพื่อควบคุมปริมาณแสงที่ตกลงบน Image Sensor และความสว่างของภาพที่ดูทางจอ LCD ส่วนกล้องดิจิตอลที่มีม่านชัตเตอร์หรือกล้องดิจิตอลแบบ SLR ช่องรับแสงจะเปิดกว้างที่สุดเพื่อให้แสงเข้าไปในช่องมองภาพได้มาก จะมองเห็นภาพได้ชัดเจนและง่ายต่อการวัดแสงและปรับความชัด เมื่อชัตเตอร์ทำงาน ม่านรับแสงก็จะปิดลงมาตาม ขนาดของช่องรับแสงที่ได้ปรับตั้งเอาไว้






ขนาดของช่องรับแสงทำหน้าที่ 2 ประการ คือ
    1. ควบคุมปริมาณแสงที่ตกลงยัง Image Sensor โดยขนาดช่องรับแสงกว้างจะทำให้แสงตกลง Image Sensor มากกว่าขนาดช่องรับแสงแคบ
    2. ควบคุมความชัดลึก ของวัตถุด้านหน้าและด้านหลังของตำแหน่งที่ปรับความชัด เรียกว่า ความชัดลึก (Depth of Field)
  
ขนาดช่องรับแสงจะระบุเป็นตัวเลข เรียกว่า F-Number หรือ F-Stop ซึ่ง มาจากการคำนวณโดยใช้เส้นผ่าศูนย์กลางของลำแสงที่ผ่านเลนส์ชิ้นหน้าไปยังช่อง รับแสงกับทางยาวโฟกัสของเลนส์ ค่าช่องรับแสงจะมีค่าต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ 1, 1.4, 2, 2.8, 4, 5.6, 8, 11, 16, 22, 32, 45, 64
   
ตัว เลขขนาดช่องรับแสงเป็นส่วนกลับ ซึ่งได้มาจากการคำนวณขนาดของลำแสงที่ผ่านเข้าเลนส์ไปยังภาพ หารด้วยทางยาวโฟกัสของเลนส์ ตัวเลขจึงเป็นส่วนกลับ เช่น 1.4 คือ 1/1.4, 5.6 คือ 1/5.6 เป็นต้น
   
ตัว เลขน้อยขนาดช่องรับแสงจะกว้าง แสงเข้าได้มาก และให้ความชัดลึกต่ำ ตัวเลขมาก แสงเข้าได้น้อย มีความชัดลึกสูง การเลือกใช้ขนาดช่องรับแสงจะพิจารณาจากช่วงความชัดลึกที่ต้องการ หากต้องการให้ฉากหน้าและฉากหลังมีความคมชัดต้องเปิดช่องรับแสงแคบลง แต่ถ้าต้องการให้ฉากหน้าและฉากหลังเบลอควรเปิดช่องรับแสงกว้าง ภาพวิว ภาพระยะใกล้ ภาพหมู่ มักเปิดช่องรับแสงแคบเพื่อให้ฉากหลังและหน้ามีความคมชัดสูง ส่วนภาพบุคคลเดี่ยวหรือภาพที่ต้องการให้ชัดเฉพาะส่วนมักเปิดช่องรับแสงกว้าง เป็นต้น

9. ระบบถ่ายภาพ (Exposure Mode)
  
 โดย ทั่วไป ระบบถ่ายภาพหมายถึงการควบคุมความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงให้สอดคล้อง กับปริมาณแสงในแต่ละภาพ ตามการชี้นำของเครื่องวัดแสง หรือวิธีการปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงนั่นเอง สำหรับกล้องดิจิตอล นอกจากการควบคุมความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงแล้ว ยังควบคุมระบบอื่นๆ อีกด้วย เช่น ความคมชัด ความอิ่มตัวของสี ความเปรียบต่าง ระบบวัดแสง ระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง ระบบปรับความชัด ฯลฯ
   
การเข้าสู่ระบบถ่ายภาพ เลือก Menu > Mode หรืออาจจะมีวงแหวนปรับตั้งระบบถ่ายภาพบนตัวกล้องโดยตรง ระบบถ่ายภาพในกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะมีให้เลือกใช้งานดังนี้

    1. ระบบ Auto   เป็นระบบถ่ายภาพแบบ Fully Automatic ซึ่ง ควบคุมการทำงานกล้องทั้งหมดแบบอัตโนมัติ ทั้งระบบถ่ายภาพ ความเร็วชัตเตอร์ ช่องรับแสง ระบบสี ความคมชัด ระบบแฟลช ฯลฯ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการความรวดเร็วและไม่ต้องการปรับตั้งระบบการทำ งานของกล้องมากมายนัก
    2. ระบบถ่ายภาพแบบโปรแกรมถ่ายภาพแบบต่างๆ (Special Program)   ออก แบบมาให้ใช้ถ่ายภาพในลักษณะต่างๆ กันตามลักษณะของภาพ เนื่องจากภาพแต่ละรูปแบบต้องการการปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์ ขนาดช่องรับแสง ความคมชัด ความเปรียบต่าง ความอิ่มตัวของสี ฯลฯ ที่แตกต่างกัน ผู้ผลิตกล้องจึงสร้างโปรแกรมถ่ายภาพแบบต่างๆ ตามลักษณะภาพออกมาให้เลือกใช้งาน โดยทั่วไปจะมีให้เลือกใช้งานดังนี้
    1. ระบบโปรแกรมถ่ายภาพบุคคล สำหรับการถ่ายภาพบุคคล ส่วนใหญ่จะปรับสีไม่เข้มนัก ความคมชัดต่ำ ความเปรียบต่างต่ำเพื่อให้สีผิวดูนุ่มนวล
    2. ระบบโปรแกรมถ่ายภาพเคลื่อนไหว สำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนที่ให้หยุดนิ่ง
    3. ระบบโปรแกรมถ่ายภาพกลางคืน สำหรับถ่ายภาพในสภาพแสง
    4. ระบบโปรแกรมถ่ายภาพทิวทัศน์ สำหรับถ่ายภาพวิวหรือภาพในระยะไกล ภาพหมู่
   
นอก จากนี้ยังมีโปรแกรมถ่ายภาพแบบอื่นๆ อีกมากแล้วแต่ผู้ผลิตจะออกแบบมาให้ใช้งาน เช่น โปรแกรมถ่ายภาพเด็ก ถ่ายภาพงานเลี้ยง ภาพไฟกลางคืน ภาพย้อนแสง ภาพเงาดำ ฯลฯ โปรแกรมถ่ายภาพเหล่านี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการความรวดเร็ว สะดวก และใช้งานได้ดี หรือผู้ใช้ไม่มีความรู้เรื่องการถ่ายภาพมากนัก
    
การ ใช้งานระบบถ่ายภาพแบบโปรแกรมควรดูค่าความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงว่า มากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ เพราะบางครั้งเราเลือกระบบถ่ายภาพเคลื่อนไหวเพื่อต้องการถ่ายภาพเคลื่อนไหว ให้หยุดนิ่ง แต่ปริมาณแสงไม่มากพอทำให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงไม่ได้ ทำให้ได้ภาพไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ หรืออาจจะเปิดช่องรับแสงกว้างเพื่อให้ได้ภาพชัดตื้น แต่ถ่ายภาพในสภาพแสงจ้ามากๆ ทำให้กล้องไม่สามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ได้ ภาพจึงสว่างเกินไปก็มีโอกาสเป็นไปได้เช่นกัน จึงควรตรวจสอบค่าความเร็วชัตเตอร์และช่องรับแสงก่อนทุกครั้ง

    3. ระบบโปรแกรม (Program)   เป็น ระบบถ่ายภาพอัตโนมัติ ในระบบนี้ผู้ใช้ไม่ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสง สามารถถ่ายภาพได้เลย โดยระบบประมวลผลในกล้องจะควบคุมความเร็วชัตเตอร์ ขนาดช่องรับแสงให้เหมาะสมกับสภาพแสงอัตโนมัติ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการความรวดเร็วหรือความสะดวกผู้ใช้ควรดูค่า ความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงที่กล้องเลือกให้ว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยดูจากข้อมูลเปิดรับแสงในช่องมองภาพ หรือที่จอ LCD ด้านหลังกล้อง
   
ระบบโปรแกรมยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือ ระบบโปรแกรมชิฟท์ (Program Shift, P*) การ ทำงานเหมือนกับระบบโปรแกรม แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงได้ตามต้อง การ (ในขณะที่ระบบโปรแกรมธรรมดาไม่สามารถทำได้) เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการความรวดเร็ว แต่ยังสามารถควบคุมความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงได้

    4. ระบบถ่ายภาพแบบความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติ (Aperture Priority)   ผู้ ใช้ต้องตั้งขนาดช่องรับแสงที่ต้องการใช้ กล้องจะตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้อัตโนมัติตามสภาพแสง เหมาะกับการถ่ายภาพที่ต้องการความรวดเร็ว และควรคุมขนาดช่องรับแสงเป็นหลัก
   
ระบบ ความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่บ้างตรงที่ ความเร็วชัตเตอร์มีให้ใช้งานจำกัด บางครั้งกล้องอาจจะปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้ไม่ได้ เช่น เปิดช่องรับแสงแคบในสภาพแสงน้อย ทำให้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเกินไป หรือเปิดช่องรับแสงกว้างในสภาพแสงจ้า ทำให้ความเร็วชัตเตอร์สูงเกินไป ซึ่งกล้องจะเตือนให้ทราบโดยแสดงสัญลักษณ์ หรือตัวเลขความเร็วชัตเตอร์กระพริบ เป็นต้น

    5. ระบบถ่ายภาพแบบช่องรับแสงอัตโนมัติ (Shutter Priority)   ผู้ ใช้ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการใช้ ส่วนกล้องจะตั้งขนาดช่องรับแสงที่เหมาะสมให้อัตโนมัติตามสภาพแสง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการความรวดเร็วและผู้ใช้ต้องการควบคุมความเร็ว ชัตเตอร์เป็นหลัก ระบบช่องรับแสงอัตโนมัติ มีข้อจำกัดอยู่ตรงที่ขนาดช่องรับแสงที่ปรับได้มีจำกัด บางสภาพแสงกล้องอาจจะไม่สามารถตั้งขนาดช่องรับแสงให้ได้ เช่น ตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงในสภาพแสงน้อยหรือตั้งความเร็วชัตเตอร์ต่ำในสภาพแสง จ้า ทำให้กล้องปรับช่องรับแสงไม่ได้ กล้องจะเตือนว่าภาพสว่างไป มืดไป หรือไม่ทำงานโดยแสดงสัญลักษณ์ที่จอแสดงการทำงาน เช่น ขนาดช่องรับแสงเปลี่ยนเป็นสีแดง กระพริบ หรือมีข้อความขึ้นเตือน

    6. ระบบถ่ายภาพปรับตั้งเอง (Manual)   ผู้ ใช้ต้องตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงด้วยตนเองให้สัมพันธ์กับ ความสว่างของแสง โดยอาศัยความช่วยเหลือของระบบวัดแสง เหมาะกับการถ่ายภาพที่ต้องการควบคุมความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงโดย ผู้ใช้ทั้งหมด ถ่ายภาพโดยใช้เครื่องวัดแสงภายนอกตัวกล้องหรือถ่ายภาพในสตูดิโอโดยใช้แฟลช การปรับตั้งมีขั้นตอนดังนี้

    1. ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการใช้งานวัดแสง ปรับช่องรับแสงให้สเกลวัดแสงอยู่ที่ 0 หรือกึ่งกลาง ถ่ายภาพ หรือ
    2. ตั้งขนาดช่องรับแสงที่ต้องการใช้งานวัดแสง ปรับความเร็วชัตเตอร์ให้สเกลวัดแสงอยู่ที่ 0 หรือกึ่งกลางถ่ายภาพ ถ้าสเกลวัดแสงอยู่ที่ + ภาพอาจจะสว่างเกินไป - ภาพอาจจะมืดเกินไป
read more“ เรื่องน่าเรียนรู้ก่อนการถ่ายภาพ”

Nikon D90

05:09 Posted by nerikus



Nikon D90 กล้อง DSLR ถ่ายวิดีโอได้!


ลือกันมาหลายวัน ในที่สุดก็ได้เวลาเปิดตัวอย่างเป็นทางการสำหรับกล้องนิคอน D90 กล้องรุ่นนี้ใช้เซ็นเซอร์ภาพใหม่ฟอร์แมท DX ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงแค่กล้องรุ่นใหม่ แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ถูกนำมาใช้ในกล้องดิจิตอล SLR เป็นครั้งแรก โดยใช้เซ็นเซอร์ CMOS 12.3 ล้านพิกเซล ทำงานผสานกันอย่างลงตัวกับหน่วยประมวลผล EXPEED ให้ภาพที่คมชัด สีสันและโทนภาพดีเยี่ยม ภาพที่ได้มี Noise ต่ำมากในทุกช่วงความไวแสง ISO และเป็นครั้งแรกของโลกที่กล้องดิจิตอล SLR สามารถถ่ายวิดีโอได้ และการถ่ายวิดีโอสามารถใช้ได้กับเลนส์ Nikkor ทุกตัว นอกจากนี้ยังถ่ายวิดีโอได้ดีแม้ว่าสภาพแสงจะน้อยมากเช่นเดียวกับกล้องวิดีโอ ทั่วๆ ไป สำหรับจอ LCD 3.0 นิ้ว ความละเอียด 920,000 พิกเซล แสดงภาพได้อย่างชัดเจนทั้งในโหมด Live View และการเปิดชมภาพหรือวิดีโอที่บันทึกไปแล้ว

คุณสมบัติหลัก Nikon D90
เซ็นเซอร์ภาพ Nikon DX-format CMOS ใหม่ ความละเอียด 12.3 ล้านพิกเซล ช่วงความไวแสงกว้าง ISO 200-3200 ให้ภาพใสเคลียร์ทุกช่วงความไวแสง และปรับเพิ่มได้ถึง ISO 6400 และลดต่ำลงเหลือ ISO 100 พร้อมระบบทำความสะอาดเซ็นเซอร์ภาพ อัตโนมัติ Image Sensor Cleaning
หน่วยประมวลผลภาพ ใหม่ EXPEED ให้ภาพที่ดูนุ่มนวลสวยงาม มีการไล่เฉดสีอย่างสมจริงตามธรรมชาติ และยังช่วยให้ D90 ทำงานได้รวดเร็วทันใจ พร้อมฟังก์ชั่น Live View ที่มีระบบโฟกัสใบหน้าอัตโนมัติ Face Detection System
D-Movie ฟังก์ชี่นใหม่ที่นำมาใช้ในกล้องดิจิตอล SLR เป็นครั้งแรกของโลก โดยเลือกขนาดของวิดีโอได้ตั้งแต่ 320 x 216 pixels, 640 x 424 pixels หรือคุณภาพสูงสุด HD720p (1,280 x 720 pixels) ให้วิดีโอคุณภาพสูงระดับมืออาชีพ บันทึกที่ความเร็ว 24 เฟรม/วินาที เหมือนฟิล์มภาพยต์ ฟอร์แมท motion JPEG format และด้วยเซ็นเซอร์ภาพที่มีขนาดใหญ่กว่ากล้องวิดีโอทั่วๆ ไปหลายเท่า ทำให้ได้ภาพที่ใสเคลียร์และสวยงามกว่าเมื่อต้องบันทึกวิดีโอในสภาพแสงน้อย โดยมีเลนส์ให้เลือใช้มากมายตั้งแต่ fisheye ไปจนถึง super-telephoto และเลนส์ Micro NIKKOR อีกหลายขนาด
ระบบบันทึกภาพใหม่ Scene Recognition System พร้อมด้วยระบบ Face Detection System ด้วยเซ็นเซอร์ 420-pixel RGB ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีเยี่ยม ตั้งแต่ระบบออโต้โฟกัส ระบบบันทึกภาพอัตโนมัติ และระบบไวท์บาลานซ์
ฟังก์ชั่น Live View mode ใหม่ แสดงผลบนจอมอนิเตอร์ LCD ขนาด 3.0 นิ้ว ความละเอียด 920,000 พิกเซล เลือกโหมดออโต้โฟกัสได้ 3 แบบ โดยจุดโฟกัสสามารถเลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งได้ทั่วทั้งจอภาพ ทำให้ใช้งานได้คล่องตัวโดยไม่ต้องมองดูภาพจากช่องมองภาพ

ฟังก์ชั่น Picture Control System ปรับเลือกใช้งานได้ 6 แบบคือ Standard, Neutral, Vivid, Monochrome, Portrait และ Landscape ช่วยให้ได้ภาพถ่ายที่สวยงามอย่างง่ายดาย
ฟังก์ชั่น Active D-Lighting ปรับแต่งภาพในส่วนที่เป็นโทนสว่างและโทนมืดให้ได้รายละเอียดที่ชัดเจนอย่าง ง่ายดาย โดยเฉพาะเมื่อต้องถ่ายภาพในสภาพแสงแบบไฮ-คอนทราสท์ เช่น กลางแสงแดดจัด เลือกปรับเองแบบแมนนวลหรือแบบออโต้ก็ได้ ที่พิเศษคือเลือกถ่ายภาพคร่อม ทั้งแบบที่ใช้ฟังก์ชั่น และไม่ใช้
เซ็นเซอร์ออโต้ โฟกัส Multi-CAM 1000 ใหม่ มีจุดโฟกัส 11 จุด โฟกัสได้รวดเร็วและแม่นยำ เลือกโหมดโฟกัสได้ 4 แบบคือ Single-point AF, Dynamic-area AF Auto-area AF แฃะ 3D-tracking (11 points)
ช่องมองภาพออกแบบเพนทาปริซึมใหม่ มีความสว่างสูง มองเห็นภาพได้ 96% มองภาพได้ห่าง 19.5 มม. และเลือกแสดงเส้นตารางบนจอภาพได้
โหมดบันทึกภาพใหม่ Advanced Scene Modes เลือกได้แบบ Portrait, Landscape, Close-up, Sports และ Night Portrait
ฟังก์ชั่นพิเศษ Retouch Menus ช่วยให้คุณสามารถตกแต่งแก้ไขภาพให้สวยงามได้จากในตัวกล้อง โดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ อาทิ Distortion Control adjusts lens aberration, Straighten corrects inclination of the image และการแก้ปัญหาที่เกิดจากเลนส์ Fisheye
ชุดชัตเตอร์ออกแบบให้ทนทานกับการใช้งานถึง 100,000 ครั้ง ทำให้ใช้งานได้ยาวนานกว่า

คุณสมบัติเด่นอื่นๆ ของ Nikon D90 ที่น่าสนใจ
พร้อมใช้งานหลังจากเปิดสวิตช์กล้องในเวลา 0.15- วินาที
่ช่วงเวลาการลั่นชัตเตอร์สั้นเพียง 65 มิลลิวินาที (CIPA standard)
ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 4.5 วินาที
จอมอนิเตอร์ LCD ขนาด 3.0 นิ้ว ความละเอียด 920,000 พิกเซล
มีแฟลชในตัว ไกด์นัมเบอร์ 17/56 (ISO 200, m/ft., 20°C/68°F) มุมกระจายแสงแฟลชรองรับเลนส์ 18 มม. ขึ้นไป
ระบบแฟลช Nikon i-TTL มีฟังก์ชั่น commander สั่งให้แฟลชภายนอกทำงานได้ ( 2 กลุ่ม)
แบตเตอรี่เมื่อ ชาร์จไฟเต็ม ถ่ายภาพได้ 850 ภาพ เมื่อใช้แบตเตอรี่ Li-ion Battery EN-EL3e. (ทดสอบตามมาตรฐาน CIPA กับเลนส์ AF-S DX NIKKOR 18-105mm f/3.5-5.6G ED VR, ใช้แฟลช 50% )
โหมดแสดงภาพ แสดงภาพเล็กพร้อมกันได้มากถึง 72 ภาพ หรือเลือกแสดงตามวันที่ ค้นหาภาพได้รวดเร็วทันใจ
Versatile Pictmotion menu แสดงภาพแบบสไลด์โชว์ เลือกได้ 5 รูปแบบ แสดงภาพพร้อมเสียงเพลงได้
รองรับการเชื่อมต่อแบบ HDMI (High-Definition Multimedia Interface) สำหรับเปิดชมภาพจากโทรทัศน์ HD TV
รองรับระบบแฟลช Nikon Creative Lighting System เมื่อใช้กับแฟลชรุ่น SB-900, SB-800, SB-600 Speedlight หรือ Wireless Close-up Speedlight System R1C1
ใช้งานได้กับ Multi-Power Battery Pack MB-D80 ใช้แบตเตอรี่ EN-EL3e 1 หรือ 2 ก้อน หรือแบตเตอรี่ R6/AA 6 ก้อน
อุปกรณ์เสริมใหม่ สายลั่นชัตเตอร์ Remote Cord MC-DC2
อุปกรณ์เสริมใหม่ GPS Unit GP-1 สำหรับบันทึกพิกัดที่ทำการบันทึกภาพ
จำหน่ายพร้อมซอพท์แวร์ Nikon ViewNX สำหรับจัดการภาพ รวมทั้งการจัดการไฟล์ RAW (NEF)
อุปกรณ์เสริมพิเศษ ซอพท์แวร์ Capture NX 2 สำหรับจัดการและตกแต่งภาพ ด้วยเทคโนโลยี U Point™ ปรับปรุงไฟล์ RAW (NEF) ให้มีคุณภาพดีที่สุด
read more“ Nikon D90”

ความรู้เรื่อง กล้องดิจิตอล สำหรับคนไม่รู้เรื่องกล้องเลย ... กล้องมีกี่แบบ? อะไรคือ DSLR?

04:29 Posted by nerikus

หลายๆคน ที่ชอบท่องเที่ยว เคยไหม? ที่เห็นใครต่อใครถ่ายรูปเวลาไปเที่ยวได้สวยสดงดงาม แต่เราทำไมถ่ายไม่สวยเลย? -*-
แต่ กระนั้นก็ตาม ... จะให้ศึกษาเรื่องกล้องมากมาย ก็ใช่ที่ ... เพราะชอบเที่ยวมากกว่ามัวบรรจงเก็บรูป เก็บภาพ ... เรียกง่ายๆว่าไม่ได้อยากเป็นตากล้องว่างั้นเถอะ ^ ^
...
ความรู้เรื่องกล้องที่จะพิมพ์นี้ เหมาะสำหรับหลายๆคนที่เกริ่นมาข้างต้นนั่นแหละครับ ^ ^
หากอยากจะเซียนด้านกล้อง จงถอยฉากไปให้ไกล เหอๆๆ (แต่ ... ถ้าเซียนแล้ว จะอ่านก็ได้นะ ^ ^)

กล้องมีกี่ประเภท
กล้องดิจิตอลมีมากมายหลายประเภทครับ แต่ถ้ายกเฉพาะที่ใช้กันแพร่หลายก็มีอยู่ 4 ประเภทครับ
1.กล้องคอมแพค (Compact)
2.กล้อง DSLR
3.กล้อง DSLR-Like
4.กล้อง Micro 4/3

1.กล้องคอมแพค
กล้องประเภทนี้ หมายความรวมๆว่า "พกพาสะดวก" ฉะนั้น กล้องเล็กๆบางๆ หยิบพกสะดวก ก็เรียกว่าเป็นคอมแพคได้ทั้งนั้นล่ะครับ
ส่วนใหญ่ถ่ายภาพออกมาชัดเจนพอจะล้างรูปขนาดจัมโบ้ได้ (4x6 นิ้ว) ... แต่ถ้ามากกว่านั้นความละเอียดก็จะลดลงตามลำดับ
ราคาหลากหลาย มีตั้งแต่ถูกๆ ไม่แพงมาก และแพง ^ ^"

2.กล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex)
ถ้าแปลความหมาย จะแปลว่ากล้องสะท้อนเลนส์เดี่ยวแบบดิจิตอล ... แต่อย่าไปจำดีกว่า
จำ ง่ายๆว่า "กล้องตัวดำๆใหญ่ๆ เปลี่ยนเลนส์ได้" ก็พอครับ ^ ^ (กล้องที่ไม่ดำ ไม่ใหญ่ เปลี่ยนเลนส์ได้ แต่ไม่ใช่ DSLR ก็มีนะ ^ ^) ส่วนใหญ่ถ่ายภาพได้คมชัดกว่าคอมแพคและมีลูกเล่น ปรับโน่นปรับนี่ได้เยอะครับ
ส่วนใหญ่พวกมืออาชีพ หรือคนที่ต้องการภาพที่สวยๆ จะใช้กล้องประเภทนี้กันครับ
ราคาเมื่อเทียบกับคอมแพคก็มักจะแพงกว่า ถูกสุดก็ 1.5 หมื่นขึ้นไปครับ

3.กล้อง DSLR-Like
กล้องนี้เป็นกล้อง "เหมือน DSLR" แต่ไม่ใช่ DSLR น่ะครับ
คุณภาพกล้องสูสีกว่าคอมแพค บ้างก็ดีกว่า แต่ยังไม่เท่า DSLR ... เพียงแต่ปรับแต่งได้เยอะใกล้เคียง DSLR แต่ถอดเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้
มีลักษณะดำๆใหญ่ๆเหมือนกับ DSLR
ราคา ใกล้เคียงคอมแพครุ่นกลางๆ-รุ่นแพงๆ เหมาะกับคนที่ต้องการภาพที่ดีในระดับโอเคกว่าคอมแพค และไม่ต้องการพกอุปกรณ์เยอะแยะไปกว่ากล้องตัวใหญ่ๆตัวหนึ่ง

4.กล้อง Micro 4/3
ไม่แน่ใจว่ากล้องประเภทนี้จะก้าวเข้าสู่ตลาดกล้องได้ดีแค่ไหน แต่ ณ ปัจจุบันนี้ก็เปิดตัวได้แรงพอดู
เป็น กล้องแบบเดียวกับ DSLR ต่างกันตรงไม่มีเลนส์สะท้อนเท่านั้นเอง ทำให้มีขนาดที่เล็กกว่า DSLR มาก ได้เปรียบเรื่องการพกพาที่ใกล้เคียงคอมแพค
คุณภาพ ไฟล์รูปเท่ากับ DSLR (DSLR รุ่นล่างๆ-รุ่นกลางๆ) ... แต่ความสามารถอื่นๆเช่นความเร็วในการโฟกัส ปัจจุบันยังเทียบ DSLR ไม่ได้ เพราะเพิ่งออกวางขายไม่กี่รุ่น ต้องจับตาดูกันต่อไป

............

คร่าวๆก็เท่านี้ครับ ^ ^
เห็นลักษณะกล้องคร่าวๆแล้ว คงพอจะตอบตัวเองได้นะครับ ว่าตนเองเหมาะกับกล้องแบบไหน ^ ^
ถ้าไปเที่ยวชมวิวทิวทัศน์ การจะแบกกล้องตัวใหญ่ๆก็สมเหตุสมผลอยู่ เพราะคุณจะไม่ได้ทำอะไร นอกจากแบกกล้องและชมวิว
แต่ถ้าคิดจะไปสวนสนุก ก็ต้องคิดหนักหน่อยว่าจะเอากล้องแบบไหนไปดี ^ ^
read more“ ความรู้เรื่อง กล้องดิจิตอล สำหรับคนไม่รู้เรื่องกล้องเลย ... กล้องมีกี่แบบ? อะไรคือ DSLR?”